เมนู

อันเป็นปัจจัยแห่งอุปาทานอยู่ ตัณหาย่อมดับ ฉันนั้นเหมือนกัน เพราะ
ตัณหาดับ อุปาทานจึงดับ เพราะอุปาทานดับ ภพจึงดับ เพราะภพดับ
ชาติจึงดับ เพราะชาติดับ ชราและมรณะโสกปริเทวทุกขโทมนัสและ
อุปายาสจึงดับ ความดับแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้ ย่อมมีด้วยประการอย่างนี้.
จบนิทานสูตรที่ 10
จบทุกขวรรคที่ 6

รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ



1. ปริวีมังสนสูตร 2. อุปาทานสูตร
3. ปฐมสังโยชนสูตร 4. ทุติยสังโยชนสูตร
5. ปฐมมหารุกขสูตร 6. ทุติยมหารุกขสูตร
7. ตรุณรุกขสูตร 8. นามรูปสูตร
9. วิญญาณสูตร 10. นิทานสูตร.

อรรถกถานิทานสูตรที่ 10



ในนิทานสูตรที่ 10 มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้.
สองบทว่า "กุรูสุ วิหรติ" ได้แก่ ประทับอยู่ในชนบทที่ได้ชื่อด้วย
อำนาจเรียกกันมากอย่างนี้ว่า กุรุ. นิคมของชาวกุรุ ชื่อว่า กัมมาสธัมมะ
เพราะฉะนั้น นิคมของชาวกุรุจึงมีชื่ออย่างนี้. อธิบายว่า ทรงกระทำนิคม
นั้นให้เป็นโคจรคาม. คำว่า "ท่านผู้มีอายุ" นี้ เป็นคำเรียกด้วยความรัก
เป็นคำเรียกด้วยความเคารพ. คำว่า "อานันทะ" เป็นชื่อของพระเถระนั้น.
คำว่า " เอกมนฺตํ นิสีทิ นั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง" มีอธิบายว่า ท่านพระ-